


ผศ.ดร.ทพ.เอกสิทธิ์ มโนสุดประสิทธิ์
หัวหน้าแขนงวิชาฯ
- ท.บ.(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และเหรียญทอง) , ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- D.Sc.D. (Orthodontics and Dentofacial Orthopedics), Boston University, USA
- Diplomate of American Board of Orthodontics, The American Board of Orthodontics, USA
- อ.ท. (ทันตกรรมจัดฟัน), ทันตแพทยสภา
Publication

ศ.ทพ.มนเทียร มโนสุดประสิทธิ์
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วุฒิบัตร (ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- M.D.S. (Orthodontics), The University of Adelaide, Australia
- F.I.C.D., Fellow International College Dentist
- อ.ท., (ทันตกรรมจัดฟัน), ทันตแพทยสภา
Publication

รศ.ดร.ทพญ.ทัศนีย์ วังศรีมงคล
- วท.บ., วิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล
- ท.บ. (เหรียญทอง), ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล
- วท.ม. (ทันตกรรมจัดฟัน), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- Cert. in Advanced Orthodontics, Loma Linda University USA.
- ปร.ด. (เภสัชวิทยา), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- อ.ท., (ทันตกรรมจัดฟัน), ทันตแพทยสภา
Publication

ผศ.ทพญ.ชุติมาพร เขียนประสิทธิ์
- วท.บ., วิทยาศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วท.ม. (ทันตกรรมจัดฟัน), มหาวิทยาลัยมหิดล
- F.I.C.D, Fellow International College Dentist
- อ.ท. (ทันตกรรมจัดฟัน), ทันตแพทยสภา
Publication

รศ.ดร.ทพ.ภิภพ สุทธิประภาภรณ์
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ป.บัณฑิต (รังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- Ph.D. (Oral and Maxillofacial Radidogy), Hiroshima University, Japan
- อ.ท. (วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก), ทันตแพทยสภา
- อ.ท. (ทันตกรรมจัดฟัน), ทันตแพทยสภา
Publication

ผศ.ทพญ.อมรรัตน์ มโนสุดประสิทธิ์
- ท.บ. (เกียรตินิยมอันดับสอง), ม.ขอนแก่น
- M.Sc. (Orthodontics and Dentofacial Orthopedics), Boston University, USA
- Diplomate of American Board of Orthodontics, The American Board of Orthodontics, USA
- อ.ท. (ทันตกรรมจัดฟัน), ทันตแพทยสภา
Publication | Research Interest

อ.ดร.ทพญ.พุทธธิดา วังศรีมงคล
- ท.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง), ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- D.M.Sc. (Oral Biology) and Certificate in Orthodontics, Harvard School of Dental Medicine, USA
- Certificate in Craniofacial and Special Care Orthodontics, University of Michigan, USA
- Certificate in Craniofacial Orthodontic Research, NYU Langone Health, USA
- Diplomate of American Board of Orthodontics, The American Board of Orthodontics, USA
Publication | Research Interest

อ.ทพญ.ณัฐวีร์ เผ่าเสรี
- ท.บ. (เกียรตินิยมอันดับสอง), ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วท.ม. (วิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ประกาศนียบัตรทันตแพทย์เฉพาะทาง, สาขาทันตกรรมจัดฟัน, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ว.ท. (ทันตกรรมจัดฟัน), ทันตแพทยสภา
- ลาศึกษาต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ช่องปาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Publication
แขนงวิชาทันตกรรมจัดฟัน ได้ก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับ คณะทันตแพทยศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 โดยมี รศ.ทพญ.นิธิภาวี ศรีสุข เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาเป็นท่านแรก และใน พ.ศ. 2528 สาขาวิชาฯ ได้ร่วมก่อตั้ง คลินิกผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของกะโหลกศีรษะและใบหน้า โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แขนงวิชาทันตกรรมจัดฟัน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทันตกรรมจัดฟัน ผลิตผู้เชี่ยวชาญระดับบัณฑิตปริญญาโท สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน ให้สามารถปฏิบัติงานในการรักษาผู้ป่วยที่มีการสบฟันที่ผิดปกติชนิดต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้บัณฑิตสามารถศึกษา วิจัยและค้นคว้าทางด้านทันตกรรมจัดฟัน ส่งเสริมความก้าวหน้าทางด้านการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ สามารถทำการวิจัยในหน่วยงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้และผลของการศึกษาวิจัยทางด้านนี้สามารถนำไปประยุกต์เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยทางทันตกรรมจัดฟันได้ ปัจจุบันแขนงวิชาทันตกรรมจัดฟัน มีอาจารย์ทั้งสิ้น 9 ท่าน โดยมี ผศ.ดร.ทพ.พูนศักดิ์ ภิเศก เป็นหัวหน้าแขนงวิชาฯ และหัวหน้าสาขาวิชาทันตกรรมป้องกัน
ความก้าวหน้า-ความภาคภูมิใจ
- การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ร่วมกับศูนย์ตะวันฉาย ซึ่งเป็นศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และได้รับการรับรองมาตรฐานการดูแลเฉพาะโรคปากแหว่งเพดานโหว่ จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) เป็นที่แรกในประเทศ
- การเปิดหลักสูตรปริญญาโท วุฒิบัตร และ ปริญญาเอก และเปิดหลักสูตรโครงการอบรมระยะสั้น 6 เดือน ด้านทันตกรรมจัดฟันสำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นหลักสูตรแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Smile Train
- การแลกเปลี่ยนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อไปดูงานและศึกษาต่อเนื่องในโครงการร่วมมือระหว่าง Boston University, USA กับแขนงวิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นวัตกรรม-ตำรา
- นวัตกรรมเครื่องมือปรับแต่งจมูกสำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และเครื่องมือยึดถ่างขยายกระดูกขากรรไกรบนสำหรับ
ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ - Textbook of Orthodontics
ผู้แต่ง : รศ.ทพ.มนเทียร มโนสุดประสิทธิ์ - หลักยึดในการรักษาทันตกรรมจัดฟัน
ผู้แต่ง : ผศ.ดร.ทพ.พูนศักดิ์ ภิเศก
เอกสารประชามสัมพันธ์
การรับสมัครเข้าศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมจัดทัน ร่วม กับ หลักสูตรการ
ฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน ประจำปีการศึกษา 2563


ผศ.ดร.ทพญ.วิไลพร สุตันไชยนนท์
หัวหน้าสาขาวิชาทันตกรรมป้องกันและหัวหน้าแขนงวิชาทันตสาธารณสุข
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ศษ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ค.ด. (เทคโนโลยีและสื่อสาร-การศึกษา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication | Research Interest

ผศ.ทพ.สุบิน พัวศิริ
- วท.บ., วิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ส.ม., (บริหารสาธารณสุข), มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ.ท. (ทันตสาธารณสุข), ทันตแพทยสภา
Publication | Research Interest

รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- M.P.H.M., Primary Health Care Management, มหาวิทยาลัยมหิดล
- M.Sc. (Epidemiology), Harvard University, USA
- Sc.D. (Epidemiology), Harvard University, USA
- Cert. (Dental Public Health and Oral Epidemiology), Harvard University, USA
- Cert. in Oral Epidemiology, Harvard School of Dental Medicine, USA
- อ.ท. (ทันตสาธารณสุข), ทันตแพทยสภา
Publication

รศ.ดร.ทพญ.ปิยะฉัตร พัชรานุฉัตร
- ทบ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สค.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข), มหาวิทยาลัยมหิดล
- Ph.D. (Public Health Nutrition), The University of Sydney, Australia
Publication | Research Interest

ผศ.ดร.ทพญ.อารยา ภิเศก
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- อ.ท. (ทันตสาธารณสุข), ทันตแพทยสภา
- ระดับปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์ช่องปาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Publication

ผศ.ดร.ทพญ.รัชฎา ฉายจิต
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วท.ม. (ทันตสาธารณสุข), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ปร.ด. (วิทยาศาสตร์ช่องปาก), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- อ.ท. (ทันตสาธารณสุข), ทันตแพทยสภา
Publication

อ.ทพญ.ปรียารัตน์ ปล่องนิราส
- ท.บ. (เกียรตินิยมอันดับสอง), ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วท.ม. ทันตกรรมประดิษฐ์ (นานาชาติ), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Publication
แขนงวิชาทันตสาธารณสุข (เดิมคือภาควิชาทันตกรรมชุมชน) ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นใน พ.ศ. 2523 ด้วยวัตถุประสงค์ของหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตที่มุ่งให้บัณฑิตทันตแพทย์มีคุณลักษณะครบทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ ด้านรักษาพยาบาล ด้านฟื้นฟูสุขภาพช่องปาก การส่งเสริมป้องกันโรค ด้านความมีระเบียบวินัยและจริยธรรมในวิชาชีพตลอดจนทัศนคติ มนุษยสัมพันธ์ และจิตสำนึกในหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม แขนงวิชาทันตสาธารณสุข มีบทบาทรับผิดชอบต่อคุณลักษณะของบัณฑิตทันตแพทย์ในหลายด้าน โดยเฉพาะที่นอกเหนือจากด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคลินิก ใน พ.ศ. 2527 คณะทันตแพทยศาสตร์มีการปรับหลักสูตร ในส่วนของแขนงวิชาทันตสาธารณสุข ได้มีการปรับโครงสร้างด้วยเช่นกัน และเป็นรากฐานของหลักสูตรทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาจนถึงปัจจุบัน การวางแนวทางหลักสูตรทันตกรรมชุมชน ใน พ.ศ. 2527 ดังกล่าว ขณะนั้นนักศึกษาทันตแพทย์ รุ่นที่ 1 ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 และยังไม่ได้เรียนวิชาทันตกรรมชุมชนมากนัก ในช่วงนั้นคณาจารย์ที่มีอยู่ 3 ท่าน คือ รศ.ดร.ทพ.สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ อ.ทพ.ทวีชัย วังศรีมงคล ผศ.ดร.ทพ.สุปรีดา อดุลยานนท์ ได้พิจารณาจากหลักสูตรทันตกรรมชุมชนของหลายๆ สถาบัน ซึ่งคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความโดดเด่นด้านวิชาทันตกรรมชุมชนเป็นอย่างมาก และอาจารย์ทั้ง 3 ท่านเห็นด้วยกับหลักสูตรของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร.ทพ.สุวิทย์ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ทพ.สุปรีดา จึงได้เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอหลักสูตรทันตกรรมชุมชน ซึ่งขณะนั้นมี รศ.ทพญ.อัญชลี ดุษฎีพรรณ์ เป็นหัวหน้าภาควิชาทันตกรรมชุมชน โดยมี อ.ดร.ทพ.อุทัยวรรณ กาญจนกามล ร่วมให้ความอนุเคราะห์นำมาเป็นแกนหลัก ประกอบกับผลจากการสัมมนาการจัดการเรียนการสอนด้านทันตกรรมชุมชน ใน พ.ศ. 2523 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากปัญหาและข้อคิดของผู้ปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขในพื้นที่ และภายใต้บริบทของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคอีสาน จึงนำมาพัฒนาและกำหนดเป็นหลักสูตรทันตกรรมชุมชน ขึ้นต่อมาแขนงวิชาได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2554 โดยมีมหาบัณฑิตสำเร็จการศึกษาจำนวน 17 คน และใน พ.ศ. 2556 คณะทันตแพทยศาสตร์ ให้ยุบรวมหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาเหลือเพียงหลักสูตรเดียวคือ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ โดยให้แยกเป็นสาขาวิชาเอก จำนวน 5 วิชาเอก ดังนั้นหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของแขนงวิชาทันตสาธารณสุข จึงเปลี่ยนเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาทันตแพทยศาสตร์ วิชาเอกทันตสาธารณสุข เป็นต้นมา นอกจากนี้ แขนงวิชายังมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกอีก 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ช่องปาก และ Doctor of Philosophy Program in Public Health (International Program) โดยหลักสูตรหลังเป็นหลักสูตรร่วมของบัณฑิตวิทยาลัย ปัจจุบันแขนงวิชาทันตสาธารณสุข มีอาจารย์ทั้งสิ้น 9 ท่าน ซึ่งมี รศ.ทพญ.วิลาวัลย์ วีระอาชากุล เป็นหัวหน้าแขนงวิชาทันตสาธารณสุข
ความก้าวหน้า-ความภาคภูมิใจ
- ระดับประชาชนทั่วไป แขนงวิชาทันตสาธารณสุขได้ดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมีกิจกรรมหลายกิจกรรมที่ช่วยในการผลักดันให้กลุ่มเป้าหมายมีแนวคิดและนโยบายที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพ เช่น
- การสัมมนาผู้บริหารโรงเรียน ผู้นำชุมชนเพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายในโรงเรียนและชุมชนที่เอื้ออำนวยต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก
- การเสนอข้อมูลและแผนงานสุขภาพช่องปากต่อชุมชน เพื่อให้ชุมชนรับทราบปัญหาและสาเหตุของปัญหาสุขภาพช่องปาก ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการกับปัจจัยต่างๆ ในชุมชนที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก
- การพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชน ซึ่งเป็นการกระตุ้นและชี้นำให้ชุมชนเห็นความสำคัญในการดำเนินงานสุขภาพช่องปากในชุมชนด้วยตนเอง
- ระดับมหภาค แขนงวิชาทันตสาธารณสุข ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการดูแลสุขภาพ และด้านทันตแพทยศาสตร์ศึกษา เช่น
- บุคลากรได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายให้กับบุคลากรในหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ
- บุคลากรได้เข้าร่วมประชุมระดับความคิดเห็นและกำหนดเป้าหมายและนโยบายในงานทันตสาธารณสุขและงานสาธารณสุข ทั้งระดับจังหวัด ระดับเขต ระดับภาคและระดับประเทศ
- บุคลากรได้เข้าร่วมเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการต่างๆ ในระดับประเทศและนานาชาติ ซึ่งมีภารกิจในการพัฒนางานทันต-สาธารณสุข เช่น รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์ เป็น President of Asian Academy of Preventive Dentistry ระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2560 ประธานชมรมทันตสาธารณสุขแห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2558 และในตำแหน่งอื่นๆ เช่น คณะผู้บริหารราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบอนุมัติบัตร สาขาทันตสาธารณสุข ฯลฯ และ อ.ดร.ทพญ.วิไลพร สุตันไชยนนท์ เป็นประธานศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม (ศ.ป.ท.) เป็นต้น
- ระดับวิชาชีพ แขนงวิชามีงานวิจัยด้านทันตสาธารณสุขหลายชิ้นที่สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเพื่ออ้างอิงและชี้นำสังคมในงานทันตสาธารณสุขได้ โดยมีผลงานตีพิมพ์ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ได้แก่ SCOPUS, ISI และ PUBMED มากกว่า 60 เรื่อง
- การเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมการวิจัยทางคลินิกและทันตสาธารณสุข แขนงวิชาทันตสาธารณสุข นำโดย รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์ ได้รับทุนสนับสนุนการจัดการฝึกอบรมเรื่อง “Clinical, Public Health, and Behavioral Oral Health Research” จาก Fogarty International Center, National Institutes of Health (NIH) ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อเนื่อง ระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2561 เป็นจำนวนเงิน 1.87 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) ประเทศสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการฝึกอบรมโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้มีความสามารถในการทำวิจัยด้านทันตแพทยศาสตร์ พัฒนาขีดความสามารถของคณะทันตแพทยศาสตร์ในการจัดการฝึกอบรมและทำวิจัยในสาขาดังกล่าว ซึ่งการจัดการฝึกอบรมนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้กับคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งในระดับชาติและนานาชาติเป็นอย่างมาก
นวัตกรรม-ตำรา
ระเบียบวิธีวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์
ผู้แต่ง : รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์


รศ.ดร.ทพญ.เข็มพร กิจสหวงศ์
หัวหน้าแขนงวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ป.บัณฑิต (ทันตกรรมสำหรับเด็ก), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วท.ม. (ทันตกรรมสำหรับเด็ก), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ปร.ด. (วิทยาศาสตร์ช่องปาก), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- อ.ท. (ทันตกรรมสำหรับเด็ก), ทันตแพทยสภา
Publication

ผศ.ทพญ.พรทิพย์ ผจงวิริยาทร
- ท.บ. (เกียรตินิยมอันดับสอง), ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วท.ม. (ทันตกรรมเด็ก), มหาวิทยาลัยมหิดล
- Cert. Residency Training (ทันตกรรมสำหรับเด็ก), มหาวิทยาลัยมหิดล
- ว.ท. (ทันตกรรมสำหรับเด็ก), ทันตแพทยสภา
Publication | Research Interest

ศ.ดร.ทพญ.อาภา จันทร์เทวี
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- Cert. A.G.S. (Pediatric Dentistry), Boston University, USA
- M.P.H. (International Health), Harvard University, USA
- Ph.D. (Medical Biochemistry), มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Publication

ผศ.ดร.ทพญ.ปฏิมาพร พึ่งชาญชัยกุล
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล
- M.Clin.Dent. (Paediatric Dentistry), University College London, UK
- Ph.D. (Developmental Biology), University College London, UK
Publication | Research Interest

รศ.ทพญ.อรอุมา อังวราวงศ์
- ท.บ.(เกียรตินิยมอันดับสอง), ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วท.ม. (ทันตกรรมสำหรับเด็ก), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อ.ท. (ทันตกรรมสำหรับเด็ก), ทันตแพทยสภา
Publication

รศ.ทพญ.อโนมา รัตนะเจริญธรรม
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วท.ม. (ทันตกรรมสำหรับเด็ก), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อ.ท. (ทันตกรรมสำหรับเด็ก), ทันตแพทยสภา
Publication

ผศ.ดร.ทพ.ศุภวิชญ์ หมอกมืด
- ท.บ. (เกียรตินิยมอันดับสอง), ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- M.Sc. (Technologies, Sante Mention Biomorphologie et Biomatriaux), University of Strasbourg, France
- Ph.D. (Developmental &Physiology) , University of Strasbourg, France
Publication

อ.ทพญ.เพ็ญอาสาฬห์ สุนทโรทก
- ท.บ., ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ว.ท., ทันตกรรมสำหรับเด็ก, ทันตแพทยสภา
Publication
แขนงวิชาทันตกรรมสำหรับเด็กได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 โดยในระยะแรกนั้น แขนงวิชาต้องใช้พื้นที่ร่วมกับแขนงวิชาอื่นเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกของนักศึกษา และให้บริการรักษาผู้ป่วยเด็ก ต่อมาปี พ.ศ. 2529 เมื่อการก่อสร้างอาคารคลินิกทันตกรรม 2 เสร็จสิ้นลง คลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กจึงได้ย้ายมาเปิดดำเนินการอยู่ชั้น 2 ของอาคารคลินิกทันตกรรม 2 ส่วนแขนงวิชาตั้งอยู่ชั้น 5 อาคารมหิตลานุสรณ์ ใน พ.ศ. 2541 เมื่อคณะทันตแพทยศาสตร์ได้มีโครงการจัดตั้งโรงพยาบาลทันตกรรมขึ้น บุคลากรสายสนับสนุนการเรียนการสอนในคลินิกจึงถูกโอนไปสังกัดโครงการจัดตั้งโรงพยาบาลทันตกรรมเป็นต้นมา แขนงวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก มีวัตถุประสงค์ เพื่อการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทันตกรรมสำหรับเด็กให้แก่นักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา เพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับงานทันตกรรมสำหรับเด็ก เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้า วิจัยทางด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก ปัจจุบันแขนงวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก มีอาจารย์ทั้งสิ้น 8 ท่าน ซึ่งมี อ.ดร.ทพ.ศุภวิชญ์ หมอกมืด เป็นหัวหน้าแขนงวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก
ความก้าวหน้า-ความภาคภูมิใจ
นอกจากภารกิจหลักในการให้การรักษาทางทันตกรรมแบบปกติ และภายใต้การดมยาสลบแก่ผู้ป่วยเด็กทั้งกลุ่มเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงเด็กพิเศษแล้ว แขนงวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันฟันผุสำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีการให้บริการแก่สังคมอย่างสมํ่าเสมอ ผ่านทางโครงการตรวจฟันที่ Well Baby Clinic ร่วมกับ แผนกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ การตรวจสุขภาพฟันประจำปีของศูนย์สาธิตการพัฒนาเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ โรงเรียนเมทนีดล และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น
นวัตกรรม-ตำรา
เรื่อง การรักษาเนื้อเยื่อในสำหรับเด็ก
ผู้แต่ง : รศ.ทพญ.อรอุมา อังวราวงศ์
เรื่อง อะพาไซเดอร์ แมงโกสติน แอดฮีซีฟเพส หรือ เอแม็ป (Apacider Mangosteen Adhesive Pastes, AMAP)
เจ้าของผลงาน : รศ.ดร.ทพญ.อาภา จันทร์เทวี
เรื่อง ศิลปะในการจัดการพฤติกรรม เพื่อการรักษาทางทันตกรรมสำหรับเด็ก
(The Art of Behavioral Management in Pediatric Dental Treatment)
ผู้แต่ง : รศ.ดร.ทพญ.อาภา จันทร์เทวี
เรื่อง : การจัดการทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ต้องการการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ
ผู้แต่ง : รศ.ทพญ.จินดา เลิศศิริวรกุล
เรื่อง การบูรณะฟันในเด็ก
ผู้แต่ง : รศ.ดร.ทพญ.เข็มพร กิจสหวงศ์