ทันตแพทย์ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันงดงาม แม้ในยามโควิด ในงาน “ประเพณีลอยกระทง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2564”

39 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์ คณบดีนำคณาจารย์และบุคลากรคณะ เข้าร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันงดงาม แม้ในยามโควิด ในงาน “ประเพณีลอยกระทง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2564” โดยเริ่มจากการตั้งโรงทานในตอนเช้า และในช่วงบ่ายร่วมขบวนแห่ขันหมากเบ็ง โดยในขบวนประกอบด้วย คณาจารย์และบุคลากรคณะแต่งกายด้วยผ้าไทยสีขาวสวยงาม ณ ริมบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่หรือประเพณีสิบสองเดือนที่ชาวไทยยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน ประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่งในฮีตสิบสองคองสิบสี่ คือ ประเพณีลอยกระทงนิยมที่จัดขึ้นในวันขึ้นสิบห้าค่ำ วันเพ็ญเดือนสิบสอง     โดยมีความเชื่อกันว่าการจัดประเพณีนี้เป็นการขอขมาพระแม่น้ำคงคาและเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์ที่เชื่อกันว่าจำพรรษาอยู่ใต้มหาสมุทรมาร่วมในพิธีกรรมด้วย ประเพณีลอยกระทงเป็นทั้งประเพณีของไทยภาคกลางและเป็นทั้งประเพณีของคนไทยใน    แต่ละท้องถิ่น ในแต่ละภาคต่างมีวิถีการปฏิบัติและวิถีความเชื่อที่แตกต่างกันไป สำหรับในภาคอีสานนั้น ชาวอีสานจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเนื่องจากมีความเชื่อเรื่องการบูชาและขอขมาน้ำ หรือการบูชาพระแม่คงคาเช่นเดียวกันชาวภาคกลาง บูชาสมมาน้ำ  คือ การขอขมาน้ำ คืนวันเพ็ญและประทีป เนื่องจากได้ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังได้อัญเชิญ พระอุปคุตมาร่วมในพิธีกรรมด้วย คณะทันตแพทยศาสตร์ เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สืบสาน  วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามวิถีอีสานให้คงอยู่ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกระลึกถึงบุญคุณของน้ำและเป็นการขอขมาน้ำ จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

ประมวลภาพบรรยากาศประเพณีไทยลอยกระทงคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2564