ทันตแพทย์ มข. ร่วมกับองค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดอบรม “หลักสูตรทันตแพทยศาสตรศึกษาสำหรับอาจารย์ทันตแพทย์ใหม่ พัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่สู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพ”

257 ครั้ง

ระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2563 ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยองค์กรผู้บริหาร
คณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรม “หลักสูตรทันตแพทยศาสตรศึกษา สำหรับอาจารย์ใหม่ (Junior Faculty Development Program in Dental Education)” ผ่านการประชุมออนไลน์โดยระบบ ZOOM webinar จำนวนผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 200 คน จากคณะทันตแพทยศาสตร์ทั่วประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานคณะอนุกรรมการหลักสูตรและทันตแพทยศาสตรศึกษา องค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธี

รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์ ประธานในพิธี กล่าวว่า “การจัดการอบรมหลักสูตรทันตแพทยศาสตรศึกษา สำหรับอาจารย์ทันตแพทย์ใหม่ เป็นการดำเนินการเตรียมความพร้อม และเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานในหน้าที่อาจารย์ ทันตแพทย์ ด้วยตระหนักว่า คณะมีพันธกิจหลักในการผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการรักษาและการให้บริการวิชาการแก่สังคม ซึ่งองค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ อ.บ.ท.ท. ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาจารย์ทันตแพทย์ ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาในการผลิตและพัฒนาอาจารย์ทันตแพทย์เข้าสู่ระบบอุดมศึกษาอย่างมีคุณภาพ และในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมและสภาวการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเมื่อมีผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านอุดมศึกษา ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นที่ต้องเร่งพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัย และเข้ากับสถานการณ์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ทั้งด้านการพัฒนาอาจารย์ การพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาองค์กร โครงสร้างและระบบการทำงานของอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพ โดยการจัดอบรมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 และมีการกำหนดจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

โดยการอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากทั่วประเทศ ได้แก่

การบรรยายเรื่อง มุมมอง : แนวคิดทางการศึกษาทันตแพทยศาสตร์ วิทยากรโดย
1. ศ.ดร.ทพญ.ศิริวรรณ สืบนุการณ์ จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ผศ.ดร.ทพ.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ผศ.ดร.ทพญ.วิไลรัตน์ วรภมร จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

การบรรยายเรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาทันตแพทย์ วิทยากรโดย
1. ผศ.ดร.ทพญ.รัชฎา ฉายจิต จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. รศ.ดร.ทพญ.วรางคณา ชิดช่วงชัย จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การบรรยายเรื่อง Teaching in the 21th Century and Covid19 วิทยากรโดย
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ช่วง Panel Discussion จิตวิญญาณความเป็นครูสู่แนวคิดการจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาและการเตรียมตัวสู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพ วิทยากรโดย
1. รศ.ดร.ทพ.นิยม ธำรงอนันต์สกุล จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย
2. ผศ.ดร.ทพ.อนุพันธ์ สิทธิโชคชัยวุฒิ จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
3. ผศ.ดร.ทพ.ณัฐวุธ แก้วสุทธา จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4. ผศ.ทพ.อดิศักดิ์ จึงพัฒนาวดี จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. อ.ดร.ทพญ.มัทนา เกษตระทัต จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. ผศ.ดร.ทพ.อชิรวุธ สุพรรณเภสัช จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การบรรยายเรื่อง Contemplative and Transformative Education in Dental Education วิทยากรโดย
1. อ.ทพญ.นัยนา บูรณชาติ จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. อ.ทพญ.อัจฉรา วัฒนาภา จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. ผศ.ดร.ทพญ.เกศกาญจน์ เกศวยุทธ จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. ผศ.ดร.ทพญ.สุวดี เอื้ออรัญโชติ จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การบรยายเรื่อง การวัดและประเมินผลการศึกษา วิทยากรโดย
รศ.พญ.รสวันต์ อารีมิตร จาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การบรรยายเรื่อง Teaching and Learning in Dentistry วิทยากรโดย
ผศ.ดร.ทพ.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การบรรยาเรื่อง E-Learning in Dentistry : Designing and Learning activity วิทยากรโดย
อ.ดร.ทพ.กวิน สิปิยารักษ์ จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ทางคณะหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดอบรมในครั้งนี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมการอบรมนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และสามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไปในอนาคต