กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience Research And Development Group: NRDG) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นหน่วยงานต้นสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้ากลุ่มวิจัยฯ ในช่วงปีแรก ปัจจุบันสังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยมี รศ.ดร.ทพ.ฑีฆายุ พลางกูร จอร์นส เป็นหัวหน้ากลุ่มวิจัยฯ กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ดําเนินงานด้านต่างๆ โดยมีวิสัยทัศน์ เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มวิจัยฯเป็นกลุ่มการเรียนรู้และวิจัยทางด้านระบบประสาทชั้นนําในระดับภูมิภาค ระดับชาติและในระดับอาเซียน และได้ดําเนินการตามพันธกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้กําหนดไว้ อันได้แก่ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนากระบวนการในการพัฒนาศักยภาพการทํางานของระบบประสาท ตลอดจนนวัตกรรมในการป้องกัน และเพิ่มประสิทธิภาพในการการตรวจวินิจฉัย และการรักษาพยาบาลทางคลินิก โดยเฉพาะความผิดปกติทางระบบประสาทที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนสนับสนุนการผลิตบัณฑิต และฝึกอบรมด้านระบบประสาทและประสาทวิทยาศาสตร์ ตลอดจนสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทในระดับประเทศและนานาชาติ นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านระบบประสาทและประสาทวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาสุขภาพ การศึกษา และสังคมให้แก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนตลอดจนประชาชนทั่วไปและยังเผยแพร่ผลงานวิชาการ การวิจัยเกี่ยวกับด้านประสาทวิทยาศาสตร์ทั้งในวารสารและการประชุมสัมมนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เป็นแหล่งสารสนเทศและแหล่งความรู้ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ เป็นกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายทางระบบประสาทและประสาทวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับสถาบัน ระดับชาติ และนานาชาติ สร้างนวัตกรรมในการวินิจฉัย เทคโนโลยี และวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของระบบประสาทจากความชํานาญในวิชาชีพทางทันตกรรมชั้นสูง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งเสริมการทํางานเป็นทีมโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ จนนําไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการวิจัยชั้นนํา ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง จึงทําให้สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ได้มีมติเห็นชอบให้คณะทันตแพทยศาสตร้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหน่วยงานที่ผ่านการพิจารณาในการนําเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดําเนินการที่เป็นเลิศมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx) ครั้งที่ 4 เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด ซึ่งถือคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย ที่ผ่านการพิจารณาในการนําเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดําเนินการที่เป็นเลิศมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน